มีรถยนต์ 1 คัน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง มาดูกัน

รถยนต์มีค่าใช้จ่าย

สำหรับคนที่กำลังจะซื้อรถใหม่ ต้องมีความสงสัยอย่างแน่นอนว่าการมีรถ 1 คันต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรกันบ้าง ? ที่อยู่นอกเหนือจากค่าน้ำมัน……… วันนี้ Hurricane มีคำตอบสำหรับข้อสงสัยนี้ รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับการมีรถ 1 คัน พร้อมแนะนำคุณในการเตรียมความพร้อมในการวางแผนกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

1. ค่าใช้จ่าย “เงินดาวน์ และ ค่าผ่อนรถ”

ค่าใช้จ่ายเงินดาวน์ และ ค่าผ่อนรถ

รถยนต์มีค่าใช้จ่ายแรกและเป็นค่าใช้จ่ายอันดับหนึ่งของการมีรถยนต์นั่นก็คือ เงินดาวน์ และ ค่าผ่อนรถในแต่ละงวด ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติแล้วค่าผ่อนรถนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าเราออกรถรุ่นไหน ปีไหน และวางเงินดาวน์มากน้อยแค่ไหน ในส่วนของยอดเงินที่เหลือจากการวางเงินดาวน์นั้น จะเรียกว่า ยอดจัดไฟแนนซ์ ซึ่งเราจะต้องผ่อนจ่ายรายเดือนทั้งเงินต้นส่วนที่เหลืออยู่และดอกเบี้ย หรือ อาจจะต้องมีผู้ค้ำประกันร่วมด้วยในบางกรณีที่ว่า ผู้ขอสินเชื่อทำเรื่องซื้อรถและวางเงินดาวน์น้อยกว่า 20% หรืออาจมีคุณสมบัติทางการเงินที่ไม่เข้าเกณฑ์สถานบันการเงินกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องหาผู้ทำหน้าที่ค้ำประกันร่วมด้วยและเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ขอสินเชื่อรถซึ่งถ้าหากหากผู้ขอสินเชื่อผิดนัดผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ตามที่ตกลงในสัญญาเงินกู้เท่านั้น

แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นได้จากหลาย ๆ ค่ายรถมีการทำการตลาด โปรโมชั่นออกรถใหม่ป้ายแดง ฟรีดาวน์ 0%  ไม่ต้องจ่ายเงินดาวน์เมื่อซื้อรถ ซึ่งโดยปกติการซื้อรถจะต้องจ่ายเงินดาวน์ แล้วแต่ว่ากี่เปอร์เซ็นต์จากยอดเต็มของรถรุ่นนั้น ๆ ยิ่งดาวน์มาก ยิ่งผ่อนต่อเดือนน้อย ทำให้เสียดอกเบี้ยน้อยลงไปด้วย แต่สำหรับฟรีดาวน์ ยอดจัดจะสูงเพราะไม่ได้นำเงินดาวน์ไปหักลบ หากต้องการที่จะซื้อรถควรเก็บสะสมเงินไว้สำหรับการดาวน์รถก่อน ประมาณ 20-40% อย่างเช่น ราคาเต็มของรถอยู่ที่ 1,000,000 บาท เงินดาวน์ที่เราควรเก็บไว้สำหรับการดาวน์รถจะอยู่ที่ 300,000 บาท คิดเป็น 30% ของยอดราคาเต็มทั้งหมดนั่นเอง หากเราดาวน์สูง จะทำให้ผ่อนต่อเดือนน้อยลง และจะเป็นผลดีต่อตัวเราเองอีกด้วย ในการผ่อนงวนรถในแต่ละเดือน

2. ค่าใช้จ่าย “พ.ร.บ และ ภาษี”

ค่าใช้จ่าย “พ.ร.บ และ ภาษี”

รถยนต์มีค่าใช้จ่าย พ.ร.บ และภาษี เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกๆปี โดย พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ “ประกัน พ.ร.บ.” เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ กล่าวกำหนดไว้ว่า ให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถ ต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี อีกหนึ่งนัยยะหนึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ นับเป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี หากไม่ทำถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย และการต่อ พ.ร.บ นั้นจำเป็นต้องใช้เอกสารสำคัญในการทำเรื่องดังนี้ 

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สมุดทะเบียนรถ (หรือสำเนา) 

และในปัจจุบันสามารถทำเรื่องต่อ พ.ร.บ ได้อย่างสะดวกง่ายดายทั้งในระบบออฟไลน์ ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทย ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร ธ.ก.ส หรือแม้กระทั่ง เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11และในระบบออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก E-Service หรือเว็บไซต์ตัวแทนประกันภัยชั้นนำ

โดยค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ นั้นจะมีรายละเอียดดังนี้

1. รถยนต์โดยสาร

รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

2. รถกระบะ / รถบรรทุก

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท

3. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ

หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท

และในอีกหนึ่งประเด็นที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจผิดนั่นคือ ภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บรถยนต์ คือ สิ่งเดียวกัน เพราะต้องต่อในทุก ๆ ปี เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ผู้มีรถยนต์ทุกคนต้องเสียเงินตามกฎหมาย เราสามารถสังเกตุได้จาก ป้ายสีเหลี่ยมเล็ก ๆ สีชมพูฟ้า ที่จะได้รับจากกรมการขนส่งกระทรวงคมนาคมที่มักใช้ติดหน้ารถและต้องเปลี่ยนไปทุกปี

ค่าใช้จ่าย “พ.ร.บ และ ภาษี”

การคำนวนค่าใช้จ่ายการต่อภาษีรถยนต์

1. สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นัั่ง จะคำนวณจากซีซีของรถรุ่นนั้น ๆ

รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์

รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท

รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

2. สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (สำหรับป้ายพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)

น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท

น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท

นอกจากนี้มีการให้ส่วนลดสำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไปอีกด้วย ดังนี้

รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%

รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%

รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%

รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%

รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%

3. ค่าใช้จ่าย “ประกันภัยรถยนต์”

ค่าใช้จ่าย “ประกันภัยรถยนต์”

ปกติแล้วรถยนต์มีค่าใช้จ่ายในส่วนของประกันรถยนต์ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากเพราะสามารถเป็นตัวช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยประกันภัยก็มีให้เลือกใช้อยู่ 5 ประเภทหลักๆ  ได้แก่ประกันภัยชั้น 1, 2+, 3+, 2 และ 3 ตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า แต่จะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขนั้นๆ ของแต่ละประเภทประกันภัยนั่นเอง โดยปกติแล้วราคาประกันภัยเฉลี่ยจะเริ่มต้นที่ประมาณ  6,500 บาท ถ้าหากใช้ประกันชั้น 1 เฉลี่ยอยู่ที่ ปีละ 12,000-20,000 บาท ถ้าหากรถยิ่งแพง ค่าเบี้ยประกันก็ยิ่งแพงขึ้นตามๆ กันไป

4. ค่าใช้จ่าย “น้ำมันรถ”

ค่าใช้จ่าย “น้ำมันรถ”

รถยนต์มีค่าใช้จ่าย ในส่วนของน้ำมันเชืื้อเพลิง เป็นค่าใช้จ่ายอันดับต้นๆ ของการใช้รถเลยก็ว่าได้ โดยปกติแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มักจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขี้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนด้วย ยิ่งตัวรถที่ใช้มีขนาดหรือเครื่องยนต์ที่ใหญ่ ก็จะกินน้ำมันกว่ารถที่มีเครื่องยนต์ที่เล็ก และนี่คืออีกหนึ่งปัจจัยที่คนในปัจจุบันนิยมหันมาใช้รถไฟฟ้า EV กันมากขึ้นทั้งการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดเงินในกระเป๋า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 เช่น ถ้าหากเราใช้รถ  Honda HR-V ปี 2023 และมีระยะทางการขับขี่อยู่ที่ 5,000 ต่อปี เติมน้ำมันประเภทแก๊สโซฮอล์ 95 ราคา ณ (01/02/2023) อยู่ที่ลิตรละ 39.45/ลิตร เมื่อคำนวณด้วยการหารแล้วจะมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันอยู่ที่ 3.8 ลิตร/100 กม. แสดงให้เห็นว่า ใน 1 ปี เราจะมีค่าใช้จ่ายน้ำมันรถโดยประมาณตกปีละ 7,495 บาท ( 5,000 / 100 x 3.8 x 39.45 )

ราคาน้ำมัน ณ วันที่ 6 มีนาคม 2567 จากปั๊มน้ำมัน ปตท.

ราคาน้ำมันวันที่ 6 มีนาคม 2567

5. ค่าใช้จ่าย “การเช็คระยะ”

โดยปกติแล้วการเช็คระยะรถจะเช็คในทุก ๆ 6-12 เดือน หรือ ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร เป็นที่ทราบกันดีว่า ซึ่งรถยนต์มีค่าใช้จ่าย ในการเช็คระยะนั้นจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของรถ และ ปีของรถรุ่นนั้น ๆ ด้วยและรวมถึงลักษณะการใช้งานของรถ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเป็นรถ TOYOTA รุ่น New Yaris ปี 2023 ระยะการเช็ค 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร มีค่าบริการอยู่ที่ 1,350 บาท หรืออาจจะสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ และการใช้งานตามรถรุ่นนั้น ๆ อีกด้วย

โดยปกติแล้วการเช็คระยะรถจะเช็คในทุก ๆ 6-12 เดือน หรือ ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร เป็นที่ทราบกันดีว่า ซึ่งรถยนต์มีค่าใช้จ่าย ในการเช็คระยะนั้นจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของรถ และ ปีของรถรุ่นนั้น ๆ ด้วยและรวมถึงลักษณะการใช้งานของรถ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเป็นรถ TOYOTA รุ่น New Yaris ปี 2023 ระยะการเช็ค 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร มีค่าบริการอยู่ที่ 1,350 บาท หรืออาจจะสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ และการใช้งานตามรถรุ่นนั้น ๆ อีกด้วย

6. ค่าใช้จ่าย “เปลี่ยนยางรถ”

การเปลี่ยนยางตามระยะที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ เพราะยางถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนของรถที่มีความสำคัญ หากปล่อยให้ยางหมดสภาพการใช้งานอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ โดยปกติแล้วยางจะเปลี่ยนในทุกๆ 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร โดยปกิแล้ว รถยนต์มีค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนยางรถนั้น มักมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ชุดละ 10,000 บาทขึ้นไป จนไปถึงหลายๆ หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับ รุ่น ยี่ห้อของยางที่เราเลือกใช้

การเปลี่ยนยางตามระยะที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ เพราะยางถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนของรถที่มีความสำคัญ หากปล่อยให้ยางหมดสภาพการใช้งานอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ โดยปกติแล้วยางจะเปลี่ยนในทุกๆ 2 ปี หรือ 50,000  กิโลเมตร โดยปกิแล้ว รถยนต์มีค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนยางรถนั้น มักมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ชุดละ 10,000 บาทขึ้นไป จนไปถึงหลายๆ หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับ รุ่น ยี่ห้อของยางที่เราเลือกใช้

7. ค่าใช้จ่าย “ค่าทางด่วน”

ปัญหารถติดในช่วงเวลาเร่งรีบเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนทำงานหลีกเลียงได้ยาก ทำให้การใช้ทางด่วนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยปกติการมี รถยนต์มีค่าใช้จ่ายทางด่วนในแต่ละสายจะมีราคาไม่เท่ากันและจะคิดตามประเภทของรถอีกด้วย คือ รถ4ล้อ รถ6 ล้อ และรถมากกว่า 10 ล้อ ซึ่งรถ4ล้อจะมีราคาถูกที่สุดอยู่ที่ 50 บาท โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายทางด่วนต่อหนึ่งเดือนจะอยู่ที่ 3,000 บาทขึ้นไป

ปัญหารถติดในช่วงเวลาเร่งรีบเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนทำงานหลีกเลียงได้ยาก ทำให้การใช้ทางด่วนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยปกติการมี รถยนต์มีค่าใช้จ่ายทางด่วนในแต่ละสายจะมีราคาไม่เท่ากันและจะคิดตามประเภทของรถอีกด้วย คือ รถ4ล้อ รถ6 ล้อ และรถมากกว่า 10 ล้อ ซึ่งรถ4ล้อจะมีราคาถูกที่สุดอยู่ที่ 50 บาท โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายทางด่วนต่อหนึ่งเดือนจะอยู่ที่ 3,000 บาทขึ้นไป

8. ค่าใช้จ่าย “ค่าจอดรถ”

เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่คนมี รถยนต์มีค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองอยู่อพาร์ทเมนท์ หรือ คอนโดมิเนียน หรือเหตุชุมชนพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความแออัดไม่มีพื้นที่จอดรถ ซึ่งการให้บริการให้เช่าสถานที่จอดรถนั้นมีอยู่หลากหลายที่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความต้องการของลูกค้า โดยในแต่ละพื้นที่จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่นการใช้บริการจอดรถในพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีค่าให้บริการรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท หรือเป็นไปตามอัตราที่ รฟม. กำหนด

เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่คนมี รถยนต์มีค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองอยู่อพาร์ทเมนท์ หรือ คอนโดมิเนียน หรือเหตุชุมชนพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความแออัดไม่มีพื้นที่จอดรถ ซึ่งการให้บริการให้เช่าสถานที่จอดรถนั้นมีอยู่หลากหลายที่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความต้องการของลูกค้า โดยในแต่ละพื้นที่จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่นการใช้บริการจอดรถในพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีค่าให้บริการรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท หรือเป็นไปตามอัตราที่ รฟม. กำหนด

อ่านข่าวสารและโปรโมชั่นเพิ่มเติม > FACEBOOK

อ่านสาระน่ารู้กับกรองอากาศสแตนเลส HURRICANE > บทความ