สัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ บอกอะไรบ้าง?

สัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ บอกอะไรบ้าง

สัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์เป็นสัญญาณที่แสดงถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ หากเห็นสัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์ขึ้น ควรตรวจสอบรถยนต์ของคุณโดยเร็วเพื่อหาสาเหตุของปัญหา และอาจจำเป็นต้องนำรถยนต์ไปเข้าอู่หรือให้ช่างรถยนต์ช่วยเช็ค เพื่อตรวจสอบและซ่อมแซม

สีสัญญาณเตือน

สีของไฟเตือน มีทั้งหมด 3 สี ได้แก่

  1. สีเขียวหรือสีฟ้า หมายถึง อุปกรณ์กำลังใช้งานอยู่
  2. สีแดง หมายถึง ระบบเครื่องยนต์กำลังมีปัญหา ถ้าขับรถต่ออาจเกิดอุบัติเหตุได้ ควรจอดรถทันทีและตรวจสอบให้เร็วที่สุด
  3. สีเหลือง หมายถึง ชิ้นส่วนบางอย่างเริ่มมีปัญหา แต่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ ถ้ามีเวลาควรนำรถเข้าอู่เพื่อตรวจสอบ

13 สัญญาณไฟเตือน ที่คุณควรรู้ไว้ !

1. สัญญาณเตือน : Auxiliary Battery malfunction

Auxiliary Battery malfunction

เกิดจากความผิดปกติของแบตเตอรี่ลูกเล็ก หรือแบตเตอรี่สำรอง ซึ่งไม่ใช่แบตเตอรี่ที่ใช้สตาร์ทรถ แบตเตอรี่สำรองนั้นทำหน้าที่เลี้ยงไฟให้กับรถเมื่อระบบ Auto start / stop ทำงาน ซึ่งถ้ามีคำเตือน Mulfunction ขึ้นมา หากแบตเตอรี่ลูกเล็กกำลังไฟเริ่มอ่อน หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งาน รถยังสามารถขับต่อไปได้ แต่บางfunction อาจใช้งานไม่ได้ เช่น Hold Brake และระบบ Auto Start/stop แต่ก็ควรนำรถเข้าตรวจเช็ค เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

สำหรับใครที่สนใจระบบ Malfunction คลิ๊กตรงนี้ได้เลย >> https://hurricanere.com/

2. สัญญาณเตือน : ไฟสูง

สัญญาณไฟสูง

เมื่อเปิดการใช้งานไฟสูง ไฟที่ขึ้นจะเป็นสีฟ้า ควรเปิดใช้ในขณะที่อยู่ในที่มืด หรือมองเห็นทางไม่ชัด แต่ไม่ควรเปิดในตอนที่มีรถคันอื่นอยู่ด้านหน้า หรือเลนสวนที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เพราะไฟอาจไปแยงตาผู้ขับขี่คันอื่นได้

3. สัญญาณเตือน : ระบบเบรก

สัญญาณเตือนระบบเบรก

ไฟจะขึ้นเป็นสีแดงหรือขึ้นไฟสีแดงกะพริบ ๆ แล้วดับ  เตือนว่าน้ำมันเบรกเหลือน้อย ซึ่งปัญหานี้ดูเล็กน้อย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับระบบเบรกไฮดรอลิก อาจเป็นสัญญาณเตือนร้ายแรง ถ้าหากไฟเตือนค้างอยู่อย่างนั้น อาจบ่งบอกถึงระบบเบรกล้มเหลว หรืออีกกรณีคือรถยนต์ที่มีไฟเบรกมือขึ้นเตือนแม้จะดึงเบรกมือแล้วก็ตาม อาจเกิดจากดึงเบรกมือลงไม่สุด หรือลืมปลดเบรกมือ ถ้าหากขับรถออกไปโดยที่ไม่ได้ปลดเบรกมือจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผ้าเบรก หรือระบบเบรกเกิดความผิดพลาด เช่นระดับน้ำมันเบรกต่ำกว่าปกติ หม้อลมเบรกรั่ว ควรรีบนำรถเข้าตรวจเช็คโดยเร็วที่สุด

4. สัญญาณเตือน : อุณหภูมิหม้อน้ำรถ

สัญญาณเตือนอุณหภูมิหม้อน้ำรถ

สัญญาณเตือนสีแดง คือ เครื่องยนต์ร้อน หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูงกว่า117 °C

สัญญาณเตือนสีเขียวหรือสีฟ้า คือ เครื่องยนต์เย็น หรือระบบหล่อเย็นอุณหภูมิต่ำกว่า 60 °C

ถ้าสัญญาณขึ้นเตือนสีแดง ควรจอดรถแล้วเปิดฝากระโปรงรถ เพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์เย็นลง ให้เปิดฝาหม้อน้ำ แต่ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยังร้อนอยู่ เพราะแรงดันน้ำจากหม้อน้ำ อาจพุ่งมาโดนหน้าหรือร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ และควรสวมถุงมือกันความร้อนในขณะที่เปิดฝาหม้อน้ำด้วย จากนั้นเช็คดูระดับน้ำถ้าพบว่าน้ำน้อยกว่าปกติ ให้เติมน้ำเปล่าลงไป แล้วรอดู 5 นาที ถ้าน้ำลดลงแสดงว่าหม้อน้ำเกิดการแตก ควรเรียกช่างมาตรวจทันที

5. สัญญาณเตือน : น้ำมันเครื่อง

สัญญาณเตือน : น้ำมันเครื่อง

สัญญาณจะขึ้นเมื่อ น้ำมันเครื่องแห้ง หรือการดัดแปลงเครื่องยนต์ เช่น มีการใช้ชิ้นส่วนที่ไม่เข้ากัน มีการขันตัวยึดต่าง ๆ ไม่แน่น หรือเมื่อใช้งานนานเกิดการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ ซีลยางรั่ว ไส้กรองน้ำมันสกปรก ปั๊มน้ำมันเครื่องเสีย หรือเซ็นเซอร์วัดแรงดันน้ำมันเครื่องเสีย ถ้ามีไฟเตือนขึ้นควรนำรถเข้าตรวจสอบทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจรุนแรงขึ้นกว่าเดิม

6. สัญญาณเตือน : แบตเตอรี่

สัญญาณเตือน : แบตเตอรี่

โดยปกติแล้วไฟเตือนจะแสดงขึ้นตอนสตาร์ทรถ แล้วไฟจะดับเมื่อมีการใช้งานรถ แต่ถ้าหากขับรถไปแล้วแต่ไฟยังไม่ดับลง ถือเป็นสัญญาณเตือนร้ายแรง เกิดจากความผิดปกติของระบบไดร์ชาร์จ และระบบไฟ ควรปิดระบบไฟต่าง ๆ เช่นแอร์ เพื่อเซฟไฟให้เพียงพอต่อการนำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบ แต่ถ้าในบางกรณีที่ไดร์ชาร์จเสียรุนแรง อาจทำให้รถเกิดดับกลางทางได้ 

7. สัญญาณเตือน : ถุงลมนิรภัย

สัญญาณเตือน : ถุงลมนิรภัย

สาเหตุที่ทำให้ไฟแจ้งเตือน อาจจะเกิดจาก เซ็นเซอร์ทำงานผิดปกติ ระบบจุดระเบิดถุงลมนิรภัยมีปัญหา หรือระบบแจ้งเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยมีปัญหา ควรนำรถเข้าอู่หรือศูนย์ทันที เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุอาจทำให้ถุงลมไม่พองตัวออกหรือไม่สามารถเซฟตี้ได้เท่าที่ควรแต่ในบางกรณีที่ถุงลมนิรภัยไม่ได้มีปัญหาอะไร เมื่อสตาร์ทรถไฟแจ้งเตือนจะหายไปเอง

8. สัญญาณเตือน : ประตูรถปิดไม่สนิท

สัญญาณเตือน : ประตูรถปิดไม่สนิท

ไฟจะขึ้นสีแดง แค่ปิดประตูให้สนิทสัญญาณไฟก็จะหายไป แต่ถ้าปิดประตูสนิทแล้วแต่ไฟสัญญาณยังขึ้นอยู่ อาจเกิดจากสายไฟมีปัญหา ควรนำรถเข้าอู่หรือศูนย์

9. สัญญาณเตือน : ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ไฟฟ้า

สัญญาณเตือน : ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ไฟฟ้า

รถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้พวงมาลัยไฟฟ้า เกิดขึ้นเพราะพวงมาลัยไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ หรือการคุมพวงมาลัยยากต่อการประคองรถ ควรนำรถเข้าศูนย์ซ่อมทันที

10. สัญญาณเตือน : ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง

สัญญาณเตือน : ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง

ไฟจะขึ้นเมื่อน้ำมันเหลืออยู่ที่ 10 ลิตร ยังสามารถขับรถต่อไปได้อีกซักระยะ แต่ควรหาปั๊มรีบเติมน้ำมันให้เร็วที่สุด เพราะถ้าไฟเตือนขึ้นบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดปัญหากับระบบปั๊มของถังน้ำมันได้

11. สัญญาณเตือน : ระบบล็อคล้ออัตโนมัติ

สัญญาณเตือน : ระบบล็อคล้ออัตโนมัติ

ระบบล็อคล้ออัติโนมัติหรือระบบเบรก ABS ที่ย่อมาจาก Anti-Lock Brake System ไฟเตือนจะสว่างเมื่อมีการใช้งานผิดปกติ ระบบเบรกยังสามารถทำงานได้ปกติ แต่เมื่อมีการเบรกกะทันหันระบบABS จะไม่ทำงาน

12. สัญญาณเตือน : ควบคุมการทรงตัวของรถ

สัญญาณเตือน : ควบคุมการทรงตัวของรถ

ไฟจะขึ้นเองตอนสตาร์ทรถ หรือเซนเซอร์ตรวจพบว่ารถเกิดการสูญเสียการควบคุม บนถนนที่พื้นผิวเปียกลื่น หรือผู้ขับขี่กดปิดระบบนี้เอง ควรเปิดระบบนี้ไว้ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

13. สัญญาณเตือน : เครื่องยนต์

สัญญาณเตือน : เครื่องยนต์

สัญญาณเตือนเครื่องยนต์หรือที่เรียกกันว่า ไฟEngine จะขึ้นต่อเมื่อเครื่องยนต์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในรถเกิดความผิดปกติ ที่อาจเกิดจากคอยล์ที่ทำหน้าที่จุดระเบิดเสียหรือ Air flow มีปัญหา ดังนั้นควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อเช็คดีที่สุด

         ผู้ใช้รถทุกคนควรรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์บนหน้าปัด เพื่อรู้ถึงการทำงานที่บกพร่อง หรือมีปัญหาในแต่ละส่วนของรถยนต์ และเมื่อเกิดปัญหากับรถไม่ควรขับรถเร็ว แต่ควรขับรถด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อนำรถเข้าศูนย์หรืออู่

อ่านข่าวสารและโปรโมชั่นเพิ่มเติม > FACEBOOK

อ่านสาระน่ารู้กับกรองอากาศสแตนเลส HURRICANE > บทความ