รถยนต์มีค่าใช้จ่ายแรกและเป็นค่าใช้จ่ายอันดับหนึ่งของการมีรถยนต์นั่นก็คือ เงินดาวน์ และ ค่าผ่อนรถในแต่ละงวด ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติแล้วค่าผ่อนรถนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าเราออกรถรุ่นไหน ปีไหน และวางเงินดาวน์มากน้อยแค่ไหน ในส่วนของยอดเงินที่เหลือจากการวางเงินดาวน์นั้น จะเรียกว่า ยอดจัดไฟแนนซ์ ซึ่งเราจะต้องผ่อนจ่ายรายเดือนทั้งเงินต้นส่วนที่เหลืออยู่และดอกเบี้ย หรือ อาจจะต้องมีผู้ค้ำประกันร่วมด้วยในบางกรณีที่ว่า ผู้ขอสินเชื่อทำเรื่องซื้อรถและวางเงินดาวน์น้อยกว่า 20% หรืออาจมีคุณสมบัติทางการเงินที่ไม่เข้าเกณฑ์สถานบันการเงินกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องหาผู้ทำหน้าที่ค้ำประกันร่วมด้วยและเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ขอสินเชื่อรถซึ่งถ้าหากหากผู้ขอสินเชื่อผิดนัดผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ตามที่ตกลงในสัญญาเงินกู้เท่านั้น
แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นได้จากหลาย ๆ ค่ายรถมีการทำการตลาด โปรโมชั่นออกรถใหม่ป้ายแดง ฟรีดาวน์ 0% ไม่ต้องจ่ายเงินดาวน์เมื่อซื้อรถ ซึ่งโดยปกติการซื้อรถจะต้องจ่ายเงินดาวน์ แล้วแต่ว่ากี่เปอร์เซ็นต์จากยอดเต็มของรถรุ่นนั้น ๆ ยิ่งดาวน์มาก ยิ่งผ่อนต่อเดือนน้อย ทำให้เสียดอกเบี้ยน้อยลงไปด้วย แต่สำหรับฟรีดาวน์ ยอดจัดจะสูงเพราะไม่ได้นำเงินดาวน์ไปหักลบ หากต้องการที่จะซื้อรถควรเก็บสะสมเงินไว้สำหรับการดาวน์รถก่อน ประมาณ 20-40% อย่างเช่น ราคาเต็มของรถอยู่ที่ 1,000,000 บาท เงินดาวน์ที่เราควรเก็บไว้สำหรับการดาวน์รถจะอยู่ที่ 300,000 บาท คิดเป็น 30% ของยอดราคาเต็มทั้งหมดนั่นเอง หากเราดาวน์สูง จะทำให้ผ่อนต่อเดือนน้อยลง และจะเป็นผลดีต่อตัวเราเองอีกด้วย ในการผ่อนงวนรถในแต่ละเดือน
รถยนต์มีค่าใช้จ่าย พ.ร.บ และภาษี เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกๆปี โดย พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ “ประกัน พ.ร.บ.” เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ กล่าวกำหนดไว้ว่า ให้เจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์ หรือผู้ครอบครองรถ ต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี อีกหนึ่งนัยยะหนึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ นับเป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี หากไม่ทำถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย และการต่อ พ.ร.บ นั้นจำเป็นต้องใช้เอกสารสำคัญในการทำเรื่องดังนี้
และในปัจจุบันสามารถทำเรื่องต่อ พ.ร.บ ได้อย่างสะดวกง่ายดายทั้งในระบบออฟไลน์ ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทย ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร ธ.ก.ส หรือแม้กระทั่ง เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11และในระบบออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก E-Service หรือเว็บไซต์ตัวแทนประกันภัยชั้นนำ
รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) 1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
หัวรถลากจูง 2,370 บาท
รถพ่วง 600 บาท
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 บาท
และในอีกหนึ่งประเด็นที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจผิดนั่นคือ ภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บรถยนต์ คือ สิ่งเดียวกัน เพราะต้องต่อในทุก ๆ ปี เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ผู้มีรถยนต์ทุกคนต้องเสียเงินตามกฎหมาย เราสามารถสังเกตุได้จาก ป้ายสีเหลี่ยมเล็ก ๆ สีชมพูฟ้า ที่จะได้รับจากกรมการขนส่งกระทรวงคมนาคมที่มักใช้ติดหน้ารถและต้องเปลี่ยนไปทุกปี
รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์
รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท
รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท
น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%
รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%
รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%
รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%
รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%
ปกติแล้วรถยนต์มีค่าใช้จ่ายในส่วนของประกันรถยนต์ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากเพราะสามารถเป็นตัวช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยประกันภัยก็มีให้เลือกใช้อยู่ 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่ประกันภัยชั้น 1, 2+, 3+, 2 และ 3 ตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า แต่จะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขนั้นๆ ของแต่ละประเภทประกันภัยนั่นเอง โดยปกติแล้วราคาประกันภัยเฉลี่ยจะเริ่มต้นที่ประมาณ 6,500 บาท ถ้าหากใช้ประกันชั้น 1 เฉลี่ยอยู่ที่ ปีละ 12,000-20,000 บาท ถ้าหากรถยิ่งแพง ค่าเบี้ยประกันก็ยิ่งแพงขึ้นตามๆ กันไป
รถยนต์มีค่าใช้จ่าย ในส่วนของน้ำมันเชืื้อเพลิง เป็นค่าใช้จ่ายอันดับต้นๆ ของการใช้รถเลยก็ว่าได้ โดยปกติแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มักจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขี้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนด้วย ยิ่งตัวรถที่ใช้มีขนาดหรือเครื่องยนต์ที่ใหญ่ ก็จะกินน้ำมันกว่ารถที่มีเครื่องยนต์ที่เล็ก และนี่คืออีกหนึ่งปัจจัยที่คนในปัจจุบันนิยมหันมาใช้รถไฟฟ้า EV กันมากขึ้นทั้งการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดเงินในกระเป๋า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เช่น ถ้าหากเราใช้รถ Honda HR-V ปี 2023 และมีระยะทางการขับขี่อยู่ที่ 5,000 ต่อปี เติมน้ำมันประเภทแก๊สโซฮอล์ 95 ราคา ณ (01/02/2023) อยู่ที่ลิตรละ 39.45/ลิตร เมื่อคำนวณด้วยการหารแล้วจะมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันอยู่ที่ 3.8 ลิตร/100 กม. แสดงให้เห็นว่า ใน 1 ปี เราจะมีค่าใช้จ่ายน้ำมันรถโดยประมาณตกปีละ 7,495 บาท ( 5,000 / 100 x 3.8 x 39.45 )
โดยปกติแล้วการเช็คระยะรถจะเช็คในทุก ๆ 6-12 เดือน หรือ ทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร เป็นที่ทราบกันดีว่า ซึ่งรถยนต์มีค่าใช้จ่าย ในการเช็คระยะนั้นจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของรถ และ ปีของรถรุ่นนั้น ๆ ด้วยและรวมถึงลักษณะการใช้งานของรถ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเป็นรถ TOYOTA รุ่น New Yaris ปี 2023 ระยะการเช็ค 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร มีค่าบริการอยู่ที่ 1,350 บาท หรืออาจจะสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสภาพของรถ และการใช้งานตามรถรุ่นนั้น ๆ อีกด้วย
การเปลี่ยนยางตามระยะที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องที่ดีและควรทำ เพราะยางถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนของรถที่มีความสำคัญ หากปล่อยให้ยางหมดสภาพการใช้งานอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ โดยปกติแล้วยางจะเปลี่ยนในทุกๆ 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร โดยปกิแล้ว รถยนต์มีค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนยางรถนั้น มักมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ชุดละ 10,000 บาทขึ้นไป จนไปถึงหลายๆ หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับ รุ่น ยี่ห้อของยางที่เราเลือกใช้
ปัญหารถติดในช่วงเวลาเร่งรีบเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนทำงานหลีกเลียงได้ยาก ทำให้การใช้ทางด่วนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ โดยปกติการมี รถยนต์มีค่าใช้จ่ายทางด่วนในแต่ละสายจะมีราคาไม่เท่ากันและจะคิดตามประเภทของรถอีกด้วย คือ รถ4ล้อ รถ6 ล้อ และรถมากกว่า 10 ล้อ ซึ่งรถ4ล้อจะมีราคาถูกที่สุดอยู่ที่ 50 บาท โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายทางด่วนต่อหนึ่งเดือนจะอยู่ที่ 3,000 บาทขึ้นไป
เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่คนมี รถยนต์มีค่าใช้จ่ายที่มีความจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองอยู่อพาร์ทเมนท์ หรือ คอนโดมิเนียน หรือเหตุชุมชนพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความแออัดไม่มีพื้นที่จอดรถ ซึ่งการให้บริการให้เช่าสถานที่จอดรถนั้นมีอยู่หลากหลายที่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความต้องการของลูกค้า โดยในแต่ละพื้นที่จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่นการใช้บริการจอดรถในพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีค่าให้บริการรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท หรือเป็นไปตามอัตราที่ รฟม. กำหนด
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า